เมนู

ประวัติ.... บาลี


สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (โดยสังเขป)
การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี เป็นพระราชภาระของพระมหากษัตริย์
ทรงจัดให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนตามกำลังสติปัญญา สืบเนื่องเป็นพระราช
กรณียกิจมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับแต่สมัย
รัชกาลที่ 1 ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ทรงรับเป็นพระราช
ภาระอยู่โดยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอก
จากพระองค์จะทรงมีพระราชดำริให้สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัพพระเชตุพน ฯ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้น
เป็นครั้งแรกเมื่อ พ. ศ. 2360 แล้วยังทรงโปรดให้สมเด็จพระสังฆราช ขยายหลักสูตรบาลีจากเปรียญ
ตรี โท เอก ซึ่งสืบเนื่องมาจากกรุงศรีอยุธยา เป็นเปรียญ 9 ประโยค ยังคงสืบเนื่องมาจนบัดนี้
สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์เมื่อ พ. ศ. 2362 ในสมัยรัชการที่ 5 ตอนปลาย พระองค์ทรง
ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ทรงจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ในส่วนกลาง ตลอด
ถึงมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้านในส่วนภูมิภาคแล้ว พระองค์ทรงปรึกษากับคณะ
สงฆ์ ขอให้แบ่งพระราชภารกิจในการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ แต่ยังคงอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นลำดับมา ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบหมาย
พระราชภารกิจให้คณะสงฆ์ดำเนินการจัดการศึกษาโดยตลอด โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระมหา
สมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงกำเนินการ
ก่อน พ. ศ. 2469 การสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ผู้ที่เข้าสอบต้องเข้าสอบต่อหน้า
คณะกรรมการภายในพระบรมมหาราชวัง ต่อหน้าพระที่นั่ง ด้วยการจับสลากและเข้าไปแปลด้วย
ปากเปล่าทีละรูป ซึ่งเรียกกันติดปากจนทุกวันนี้ว่า "สมัยแปลด้วยปาก" จะสอบได้หรือไม่ได้ คณะ
กรรมการตัดสินให้คะแนนรู้ผลกันในวันนั้น ผู้ที่สอบได้จะได้รับพระราชทานรางวัลไตรจีวรแพร ซึ่ง
เป็นของมีค่ามากในสมัยนั้น นับเป็นเกียรติประวัติแก่ผู้ที่สอบได้เป็นอย่างยิ่ง
ในสมัยแปลด้วยปากเปล่า มีพระเปรียญที่สามารถสอบได้ ป.ธ.9 หลายรูปด้วยกัน เท่า
ที่รวบรวมได้มีดังนี้